สายเฮลท์ตี้ต้องไม่พลาด เคล็ดลับสุขภาพดีสายเฮลท์ตี้ กิฟฟารีน ออนไลน์ ที่นี่...เราเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน
Giffarine by กชพร
ช้อปเมื่อไรก็ได้ พร้อมสิทธิมากมาย
กิฟฟารีน ออนไลน์
โทร. 0924954639
ไลน์ ไอดี: 0924954639

  0 ชิ้น
กระดูกและข้อ - ORTHOPEDIC
          ◉ โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
              ◎ Osteoarthritis โรคข้อเสื่อม กระดูกสันหลัง กระดูกคอ กระดูกสะโพกเสื่อม หมอนรองกระดูกเสื่อม เข่าเสื่อม กระดูกบาง กระดูกทรุด เป็นความผิดปกติของข้อ เป็นอาการที่กระดูกอ่อน (Cartilage) ในข้อต่อกระดูกเสื่อมสภาพจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุ การใช้งาน เป็นต้น โดยเฉพาะข้อเข่าเสื่อม การเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน ส่งผลให้กระดูกเสียดสีกันหรือเกิดแรงกดมากขึ้น จนทำให้เจ็บบริเวณข้อต่อและขยับข้อต่อลำบาก หากไม่รีบรักษา อาการอาจรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยทั่วไปแล้ว Osteoarthritis มักเกิดบริเวณข้อนิ้วมือ เข่า สะโพก กระดูกสันหลัง และเกิดขึ้นได้กับทุกคน ที่พบได้บ่อยในช่วงเข้าสู่วัยกลางคน และพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น พบในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 50 ปี
    ◉ สาเหตุของข้อเสื่อม
      ➤ สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ทำให้เกิดความไม่สมดุลในการสร้าง การทำลาย และการซ่อมแซมภายในข้อ ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อ (Cartilage) ถูกทำลายอย่างช้าๆ เป็นผลให้กระดูกอ่อนผิวข้อสึกกร่อน
     ✱ กระดูกอ่อนผิวข้อ มีคอลลาเจนไทพ์-ทู เป็นส่วนประกอบหลัก ขณะที่ผิวหนังจะเป็นไทพ์-วัน
     ✱ คอลลาเจนไม่ได้คงอยู่ตลอดไป แต่จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
     ✱ เมื่ออายุเข้าสู่วัย 30 ปี อัตราการสร้างจะลดลงร้อยละ 1.5 
 และเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เป็นผลให้เกิดปัญหาข้อเสื่อม ปวดข้อ
     ➤ Osteoarthritis เกิดจากเนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อกระดูกหรือกระดูกอ่อนบางลง ชำรุด และสึกหรอ ทำให้ไม่สามารถลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกได้เท่าเดิม จนเกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น หากกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพลงมาก จนทำให้กระดูกเสียดสีกันโดยตรง ผู้ป่วยอาจมีกระดูกงอก (Bone Spurs) ขึ้นมาบริเวณข้อต่อนั้นด้วย
      ➤ โดยปกติ เมื่อกระดูกอ่อนชำรุดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ร่างกายจะมีกลไกซ่อมแซมและรักษาด้วยตนเอง 
แม้ยังไม่สามารถระบุได้ถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ Osteoarthritis อาจเกิดจากความผิดพลาดของกระบวนการซ่อมแซมในร่างกาย หรืออาจ
เกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
      อายุ ประสิทธิภาพการซ่อมแซมกระดูกข้อต่อที่สึกหรอ และการส่งเลือดไปเลี้ยงข้ออาจลดลงตามอายุ
     ➣ โรคอ้วน ผู้ป่วยโรคอ้วนมักเผชิญอาการ Osteoarthritis บริเวณเข่าและสะโพก เพราะข้อต่ออาจรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายมากขึ้น
     ➣ เพศ ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็น Osteoarthritis มากกว่าผู้ชาย
     ➣ พันธุกรรม Osteoarthritis อาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้เคยได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหายบริเวณข้อต่อ เช่น เคยกระดูกหักบริเวณใกล้ ๆ ข้อต่อ เคยป่วยเป็นข้อต่อติดเชื้อ หรือเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็น ซึ่งอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของข้อต่อ
     ➣ ใช้งานข้อต่อหนักเกินไป อาจพบในกลุ่มนักกีฬา ผู้ที่ต้องยกของหนัก หรือผู้ที่ต้องทำงานด้วยการใช้สว่านลม

      ◉ ภาวะแทรกซ้อนของข้อเสื่อม
           อาการของ Osteoarthritis อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้น หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา การขยับท่าทางหรือการเคลื่อนไหวร่างกายจะถูกจำกัดลง ทำให้ขาดอิสระในการใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันยากลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ ภาวะแทรกซ้อนของ Osteoarthritis อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อต่อที่มีอาการ และความรุนแรงของอาการด้วย

◎ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
➣ มีอาการปวดเรื้อรัง
➣ เสียการทรงตัว  
➣ เสี่ยงต่อการหกล้ม
➣ ภาวะขาดเนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อ เพราะกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพ หรือสลายตัวเร็วเกินไป
➣ เส้นเอ็นและเอ็นยึดข้อต่อขาดความเสถียร
➣ เลือดออกภายในข้อต่อ
➣ ข้อต่อติดเชื้อ
➣ กระดูกหักล้า
➣ กระดูกตายจากการขาดเลือด
➣ เส้นประสาทถูกกดทับ (เกิดขึ้นใน Osteoarthritis บริเวณกระดูกสันหลัง)
➣ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มักเกิดขึ้นเมื่อข้อต่อเจ็บปวดจนไม่สามารถใช้งานได้ (โดยเฉพาะข้อเข่า)
➣ ข้อต่อผิดรูป (ปุ่มกระดูกเล็ก ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อกระดูก 2 ชิ้นมาบรรจบกัน)



◉ คุณมีอาการเช่นนี้หรือไม่?
➣ ปวดตามข้อต่างๆ (โดยเฉพาะข้อเข่า มีอาการปวดมากเมื่อเหยียดขา หรือลุกขึ้นยืนหลังจากที่นั่ง หรืองอเข่าเป็นระยะเวลานาน)
➣ ได้ยินเสียงลั่น ดังกรอบแกรบในข้อ เมื่อเคลื่อนไหว
➣ ข้อติด ขยับข้อได้ยาก (โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้า และหลังตื่นนอน) มีการเคลื่อนไหวข้อได้น้อย
➣ มีอาการปวด ข้อบวม ข้อโก่งผิดรูปร่าง
✱ อาการดังกล่าวบ่งบอกถึงภาวะข้อเสื่อม ซึ่งมีสาเหตุจากการที่กระดูกอ่อนบริเวณของข้อถูกทำลาย จนไม่สามารถสร้าง และซ่อมแซมได้ทัน ทำให้กระดูกอ่อนสึกกร่อน ไม่สามารถรับน้ำหนัก หรือแรงกระแทกต่างๆได้

◉ การป้องกันข้อเสื่อม
แม้ยังไม่มีวิธีป้องกันที่แน่นอน เพราะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่ผู้ป่วยอาจลดความเสี่ยงในการเกิด Osteoarthritis
 ได้ เช่น
➣ ลดน้ำหนัก เพื่อช่วยลดอาการตึงบริเวณข้อต่อ
➣ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
➣ ออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว แอโรบิค ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือ 2 ชั่วโมงครึ่ง)
➣ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้ข้อต่อบาดเจ็บ เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก
➣ หลีกเลี่ยงการนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน

◉ โรคข้อเสื่อม กินอะไรดี?
◉ อาหารเพื่อสุขภาพแนะนำ างเลือกหนึ่งที่อาจลดความเสี่ยงในการเกิดโรคข้อเสื่อมได้...
     ✔ คอลลาสติน   แคล-ดี-แมก ✔ ยูซี-ทู โกลด์ ✔ น้ำมันปลา
◎➢ ทางเลือกหนึ่งที่อาจลดความเสี่ยงในการเกิดข้อเสื่อม...
◉ อาหารเพื่อสุขภาพโรคข้อเสื่อม 
   เพื่อการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างถูกต้อง และทันเวลาก่อนจะเกิดการเรื้อรังของโรคต่าง ๆ

Giffarine by กชพร
ช้อปเมื่อไรก็ได้ พร้อมสิทธิมากมาย
สมัครสมาชิก กิฟฟารีน ออนไลน์
GIFFARINE
ที่นี่... เราเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน
Online Network Business Opportunity
  ส่วนหนึ่งของ ผลิตภัณฑ์กิฟฟารีน
สินค้าขายดี จาก แคตตาล็อก กิฟฟารีน ทั้งหมดกว่า 2,000 รายการ
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต


ผลิตภัณฑ์
เพื่อความงาม


ผลิตภัณฑ์
เครื่องสำอาง


ผลิตภัณฑ์
ของใช้ส่วนตัว


ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม


ผลิตภัณฑ์ของใช้
ในครัวเรือน



Facebook
Twitter
Email

Copyright © TonBab Giffarine