สายเฮลท์ตี้ต้องไม่พลาด เคล็ดลับสุขภาพดีสายเฮลท์ตี้ กิฟฟารีน ออนไลน์ ที่นี่...เราเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน
Giffarine by กชพร
ช้อปเมื่อไรก็ได้ พร้อมสิทธิมากมาย
กิฟฟารีน ออนไลน์
โทร. 0924954639
ไลน์ ไอดี: 0924954639

  0 ชิ้น
โรคไต Kidney Nourish
       ไต (Kidney)
      ◎ ไต เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายด้วยการผลิตปัสสาวะ ให้มีปริมาณส่วนประกอบและปริมาตรที่เหมาะสม และทำหน้าที่รักษาสมดุลของสารต่าง ๆ ของเหลวและแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกาย
       ◎ ไต เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายด้วยการผลิตปัสสาวะ ให้มีปริมาณส่วนประกอบและปริมาตรที่เหมาะสม และทำหน้าที่รักษาสมดุลของสารต่าง ๆ ของเหลวและแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนั้นไตยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ เช่น กระตุ้นวิตามินดี (vitamin D) ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง หากไตเสียหายไป ไม่มีทางทำให้กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม ไตจึงเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ เราจึงควรป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต รักษาสุขภาพไตไม่ให้เสื่อมก่อนเวลาอันควร หรือถ้าสังเกตพบอาการในระยะเริ่มต้น ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรักษา ช่วยชะลอความเสื่อมของไตให้ช้าลง


       
       ◎ โรคไต เกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากระบบการทำงานของไตผิดปกติ ทำให้ไตไม่สามารถขับของเสีย หรือรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายได้ โรคไตมีสาเหตุหลายอย่างทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรม ด้านพฤติกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม เช่นโรคถุงน้ำในไต โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของไต โรคที่เกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น จากนิ่ว และที่สำคัญคือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด ความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคความดันโลหิตสูง และเกิดโรคเบาหวานตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

  ◉ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นโรคไต
            กรรมพันธุ์ / ครอบครัว : โรคไตบางชนิดเป็นเพราะกรรมพันธุ์ เช่น โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic Kidney Disease) เพราะฉะนั้นคนที่มีพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคนี้เช่นกัน โรคนี้มี 2 แบบ ได้แก่ แบบทารก (Infantile PKD) มักจะเสียชีวิตตั้งแต่เกิดส่วนแบบผู้ใหญ่ (Adult PKD-APKD) มักพบความผิดปกติเมื่ออายุ 20-30 ปีขึ้นไป ครอบครัวเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง พบว่า มีสมาชิกของครอบครัวเดียวกันเป็นโรคไตชนิดเดียวกัน พิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นจากกรรมพันธุ์หรือไม่ อาจเป็นเพราะกินอยู่ในสภาพเดียวกันหรืออุปนิสัยคล้าย ๆ กัน
          ➢ ความดันโลหิตสูง : ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงจะมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สำคัญ คือ หัวใจ หลอดเลือด ไต และสมอง คนที่มีความดันโลหิตสูงนานๆ จะมีผลทำให้ไตเสื่อมลง แรก ๆ จะมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ นาน ๆ จะทำให้เกิดไตวายจนไปถึงไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย คนที่เป็นไตวายหรือโรคไตบางชนิดก็ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนี้ยังพบว่าถ้าเกิดความดันโลหิตสูงชนิดร้ายแรง (malignant hypertension) อยู่นาน 1 ปี จะทำให้จากไตปกติกลายเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ การรักษาควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะทำให้การเกิดโรคไตช้าลงหรือไตเสื่อมช้าลงได้ ความดันโลหิตสูงนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นสาเหตุของไตวายเรื้อรัง ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายประมาณ 30-50%
          ➢ โรคเบาหวาน : เป็นสาเหตุของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายราว ๆ 30% ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อเป็นมาราว ๆ 10-15 ปี ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ไต โดยเฉพาะที่หลอดเลือดของไต มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ ต่อไปก็จะเกิดไตเสื่อม ไตวายเรื้อรัง และไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด โรคเบาหวานยังมีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อไตอีกด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะและกรวยไตอักเสบ ซึ่งถ้าเป็นบ่อย ๆ และ/หรือรุนแรง ก็มีผลทำให้ไตเสื่อม ไตวายได้
          ➢ ภูมิลำเนา : ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จะมีผู้ป่วยเป็นโรคนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะมาก สาเหตุอาจเกี่ยวเนื่องจากอาหาร น้ำ และปัจจัยอื่น เพราะฉะนั้นคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในบริเวณนี้ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้
          ➢ ความอ้วน : คนอ้วนจะมีเมตาบอริซึมสูงกว่าคนปกติ เกิดของเสียต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ไตและอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายทำงานมากขึ้น ทั้งหัวใจ ปอด ความดันโลหิตสูง ไตต้องทำงานรับภาระมากขึ้น จะมีไข่ขาวในปัสสาวะก่อน แล้วต่อมาไตจะเสื่อมหรือวายได้
          ➢ อายุ : ไตของคนปกติจะเจริญเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 2 ปีและจะเริ่มเสื่อมเมื่ออายุ 35 ปี เพราะฉะนั้นสมรรถภาพการทำงานของไตจะเสื่อมไปตามอายุ นอกจากนี้ในผู้ชายผู้สูงอายุมีโอกาสสูงที่จะเป็นต่อมลูกหมากโต อาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ ทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงได้ การรับประทานยา / ฉีดยาต่าง ๆ ที่มีพิษต่อไตจำเป็นต้องลดขนาดลงด้วย มิฉะนั้นก็อาจทำให้เกิดไตวายได้
          ➢ ยา / อาหาร : ยาหลายชนิด อาหารบางประเภท มีพิษต่อไต ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ต้องปรับขนาดของยาให้พอเหมาะและหมั่นติดตามการทำงานของไตอย่างใกล้ชิด เช่น ยาแก้ข้อ-กระดูกอักเสบ (พวกเอนเสด – NSAID) เป็นต้น อาหารพิเรนทร์บางชนิด เช่น ดีงู เป็นต้น ก็ทำให้เกิดไตวายได้ นอกจากนี้ สายทึบรังสี ที่ใช้ฉีดให้ผู้ป่วยเวลาตรวจทางเอกซเรย์ ก็อาจมีผลทำให้ไตวายได้ โดยเฉพาะ
ผู้ป่วยเบาหวานต้องเลี่ยง ใช้สารที่ปลอดภัยมาก ๆ หรือให้น้ำอย่างเพียงพอเมื่อต้องใช้สารจำพวกนี้
          ➢ อาชีพ / อุบัติเหตุ : อาชีพบางอย่างอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตได้ เช่น นักมวย อาจถูกต่อย ถูกเตะบริเวณไตจนเกิดอันตรายได้ หรือบางคนทำงานในโรงงานซึ่งได้รับสารพิษต่อไตสะสมยาวนาน ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้


          
         ◉ วิธีดูแลตัวเองง่าย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต   
          ➤ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
          ➤ ตรวจเช็คความดันโลหิตให้อยู่ในค่าปกติ
          ➤ หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดและแก้อักเสบเกินความจำเป็น
          ➤ การออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม

◎➢ ทางเลือกหนึ่งที่อาจลดความเสี่ยงในการเกิด โรคไต ได้...
◉ อาหารเพื่อสุขภาพกับโรคไต  
 นูทริ โฟลิค ✔ คลอโรฟิลล์  เห็ดหลินจือ  สารสกัดจากเห็ด ✔ ถั่งเช่า (ชาย)  ถั่งเช่า (หญิง) 
 วีแกน มัลติ แพลนท์ โปรตีน

นูทริ โฟลิค 
NUTRI FOLIC





คลอโรฟิลล์ ซี-โอ Chlorophyll C-O





ห็ดหลินจือ






ฟลาโวกลูแคน Flavo Glucan





ถั่งเช่า 






 วีแกน มัลติ 
แพลนท์ โปรตีน




   เพื่อการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างถูกต้อง และทันเวลาก่อนจะเกิดการเรื้อรังของโรคต่าง ๆ

Giffarine by กชพร
ช้อปเมื่อไรก็ได้ พร้อมสิทธิมากมาย
สมัครสมาชิก กิฟฟารีน ออนไลน์
GIFFARINE
ที่นี่... เราเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน
Online Network Business Opportunity
  ส่วนหนึ่งของ ผลิตภัณฑ์กิฟฟารีน
สินค้าขายดี จาก แคตตาล็อก กิฟฟารีน ทั้งหมดกว่า 2,000 รายการ
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต


ผลิตภัณฑ์
เพื่อความงาม


ผลิตภัณฑ์
เครื่องสำอาง


ผลิตภัณฑ์
ของใช้ส่วนตัว


ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม


ผลิตภัณฑ์ของใช้
ในครัวเรือน



Facebook
Twitter
Email

Copyright © TonBab Giffarine